โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร)
หัวข้อ
หน้าแรก
ประวัติโรงเรียน
ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลนักเรียน
ข้อมูลอาคารสถานที่
ข้อมูลชุมชนบ้านดู่
อัลบั้มภาพ
สมุดเยี่ยม
ค้นหา
ติดต่อเรา
ข่าวสาร
บทความ
ข้อมูลศิษย์เก่าบ้านดู่จบปี 2495-2517
2518-2521
2523-2549
2550
2551
ภาพยนต์สารคดีขะหนมละอ่อน
แตงโมวิจิตร
ศูนย์ต้นแบบทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท
เวปเพจ ภาพกิจกรรม นักเรียนบ้านดู่ฯ
ระบบสมาชิก
ชื่อเรียก

รหัสผ่าน



ลืมรหัสผ่าน ?
ขอใหม่ ที่นี่.
ข้อมูลชุมชนบ้านดู่

ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านดู่  

     จากการที่เชียงใหม่ถูกพม่ายึดครองในปี พ.ศ. 2347 พระเจ้ากาวิละได้อพยพผู้คนไปยังลำปาง ทำให้เชียงใหม่และเชียงรายร้างผู้คน แต่ประชาชนบางส่วนที่เคยหลบหนีเข้าไปในป่าได้กลับมาตั้งชุมชน ณ บ้านดู่ ในปัจจุบัน โดยตั้งชุมชนเพื่อเป็นเส้นทางในการค้าขายและเลี้ยงสัตว์ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2447 ตำบลบ้านดู่ ได้ชื่อมาจากการที่สมัยก่อนเคยมีต้นประดู่ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บริเวณ ระหว่างโรงเรียนบ้านดู่ กับตลาดบ้านดู่ ซึ่งต้นประดู่นั้นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ประชาชนระแวกใกล้เคียงที่เดินทางสัญจรไปมาจึงเรียกว่า “ บ้านดู่ ” บ้านดู่ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน และใน พ.ศ. 2480 ได้รับการจัดตั้งเป็นตำบลเริ่มแรกมีหมู่บ้านเพียง 11 หมู่บ้านอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

      มีกำนันเป็นผู้ปกครองดังนี้ 

1 . ขุนคำดู่ ธุวะคำ ประวัติไม่ปรากฏชัด
2 . ขุนจิตร จำนงค์ชอบ เดิมชื่อ “ หนานตา ” เป็นบุคคลที่ปกครองบ้านเมืองได้อย่างสงบสุขจนได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนจิตร จำนงค์ชอบ แล ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ ต่างใจ ” เพราะเป็นบุคคลที่สามารถปฏิบัติงานทางราชการได้เป็นอย่างดีทุกเรื่อง ปัจจุบันผู้ที่ใช้นามสกุล “ ต่างใจ ” ยังอาศัยอยู่ในตำบลบ้านดู่เป็นจำนวนมาก
3 . หมื่นชาญอาสา พรมใจสา เดิมชื่อ หนานพรหม ปกครองตำบลบ้านดู่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีเรื่องร้ายใดเกิดขึ้นจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมื่นชาญอาสา พรมใจสา
4 . กำนันสั้น ทะนันชัย
5 . กำนันปิง พินิจ พ.ศ. 2510 - 2517
6 . กำนันติ๊บ พินิจ พ.ศ. 2517 - 2534
7 . กำนันพายัพ โป่งคำ พ.ศ. 2534 - 2540
8 . กำนันวินัย สุวรรณโสภิต พ.ศ. 2540 - 2547
9 . กำนันสมมิตร เตชะตน พ.ศ. 2547 - 2555
10 . กำนันวันชัย ใจแพร่ พ.ศ. 2555 - 2556
11 . กำนันแสวง ใจจุมปา พ.ศ. 2556 - 2561
12 . กำนันไมตรี ดวงสนิท พ.ศ. 2561 - 2563
13 . กำนันศรีเนตร ธะนาคำ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
    หลังจากมิพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ประกาศบังคับใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1 . สภาตำบล
2 . องค์การบริหารส่วนตำบล
    ตำบลบ้านดู่ได้รับการประกาศจัดตั้งยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยจัดตั้งเป็นองค์การบริหารตำบลระดับ 3 มีสมาชิกจำนวน 36 คน ( 18 หมู่บ้าน ) และใน พ.ศ. 2546 ตำบลบ้านดู่ได้แยกหมู่บ้านขึ้นอีก 1 หมู่บ้าน โดยแยกจากหมู่ที่ 11 บ้านต้นลุง จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 19 บ้านหนองปึ๋งและจัดตั้งเลือกตั้งสมาชิกเพิ่มอีก 2 คน มีสมาชิกทั้งสิ้น 38 คน
    ในปี พ.ศ. 2544 องค์การบริหารส่วนตำบลได้ยกระดับเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลระดับ 5 ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านดู่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2 เขต เขตละ 6 คน มีนายกเทศมนตรีที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชนโดยตรง โดยมี นายวินัย สุวรรณโสภิต ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีคนแรกของตำบลบ้านดู่ และมีรองนายกเทศมนตรีจำนวน 2 คน พร้อมกับเลขานุการและที่ปรึกษาอีก 1 คน

ประวัติหมู่บ้านในตำบลบ้านดู่

หมู่ที่ 1 เดิมชื่อ บ้านขัวแคร่

จากที่ได้ทราบข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เมื่อสมัยก่อน ได้มี่พ่อค้าไทใหญ่ได้เดินทางนำสินค้ามาขาย ซึ่งเดินทางมาจากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่าเดินทางโดยม้าและล่อเพื่อมาค้าขายที่เชียงราย จนมาถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งที่มีความกว้างและลึกมาก ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าบนม้าต่างและล่อผ่านไปได้ บรรดาพ่อค้าจึงช่วยกันหาไม้ไผ่มาสานเป็นแผ่นใหญ่ เรียกว่า แตะ บางคนก็เรียกว่า แคร่ มาทำเป็นสะพาน ม้าต่างและล่อจึงผ่านไปได้ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านที่ผ่านไปมาต่างพากันเรียกสะพานนี้ว่า ขัวไม้แคร่ หรือเรียกสั้นๆว่า ขัวแคร่จนถึงทุกวันนี้ เดิมทีมีผู้มาตั้งหลักปักฐานอยู่ในบ้านขัวแคร่ เป็นชาวเชียงใหม่ที่อพยพมา และตั้งบ้านขัวแคร่เป็นหมู่บ้าน
ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านชื่อว่า นายอุด พิเศษบุญคนเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

หมู่ที่ 2 เดิมชื่อ บ้านป่าซาง

จากหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานของวัดป่าซาง ไม่ปรากฏเด่นชัดว่าเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อใดปรากฏแต่เพียงการอพยพของผู้คน มาจากทางทิศเหนือของประเทศไทย คือประเทศพม่าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นชนไทยลื้อและไทยวนมาตั้งถิ่นฐานในปัจจุบัน ทางทิศเหนือของของเมืองเชียงราย ได้เริ่มก่อตั้งสถานที่บำเพ็ญบุญ(สำนักสงฆ์)ในปี พ.ศ. 2410 และรับอนุญาตให้ตั้งวัด “ วัดป่าซาง ” เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2441 โดยมีหลวงพ่ออรินทร์ อริยวํโส เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกในปีพ.ศ. 2430 การตั้งชื่อหมู่บ้านและวัดป่าซางเพราะว่าตั้งชื่อตามสภาพพื้นฐานสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่ปรากฏเด่นชัดคือหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบมีป่าไผ่ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่จำนวนมากเรียกว่า “ ไผ่ซาง ” จึงมีการนำไปตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านและวัดว่า “ ป่าซาง ” จวบจนปัจจุบันนี้และยังมีไผ่ซางปรากฏอยู่ให้เห็นโดยทั่วไป ในพื้นที่หมู่บ้านในปัจจุบัน หลักฐานที่ปรากฏทางราชการ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งหมู่บ้านและคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยมีนายยวง กาวิรส เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรก ดำรงตำแหน่ง 25 ปี ( 2442 – 2467 ) ต่อมาในภายหลังได้มีผู้คนอพยพจากจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าอยู่อาศัยในเขตพื้นที่หมู่บ้าน อีกบริเวณบ้านคึกในปัจจุบัน ทำให้มีราษฎรเพิ่มขึ้นและได้ขยายเขตปกครองเป็นหมู่บ้านเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “ บ้านป่าซาง ” หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านดู่ ที่มาของชื่อ “ บ้านคึก ” มีมูลเหตุมาจากในอดีตบริเวณถนนสายหลักระหว่างตัวเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่จันหรือ ( ถนนพหลโยธินในปัจจุบัน ) มีร่องน้ำไหลผ่าน การสัญจรไปมาลำบาก เพราะมีท่าน้ำที่ต้องข้ามไปมา มีฝั่งน้ำที่สูง เรียกว่า “ คึก ” จึงมีการตั้งชื่อตามสภาพธรรมชาติที่ปรากฏเด่นชัดว่า “ บ้านคึก ”

หมู่ที่ 3 บ้านดู่ เดิมชื่อ บ้านทรายมูล

บ้านดู่ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ครั้งแรกราษฎรของหมู่บ้านได้อพยพมาจากถิ่นฐานอื่น ได้มาตั้งที่ทำกินใหม่ กลายเป็นหมู่บ้าน เดิมหมู่บ้านแห่งนี้มีต้นประดู่ขึ้นเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงลงมติในที่ประชุมเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากชื่อเดิม “ ทรายมูล ” เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “ บ้านดู่ ” จนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 4 บ้านสันติ เดิมชื่อ  บ้านสัน

ได้แยกตัวออกจากบ้านดู่ หมู่ 3 เดิมหมู่บ้านเป็นที่ดอน หรือสัน สำหรับเลี้ยง วัว ควาย ทำสวน ทำไร่ จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านเป็น" บ้านสัน " ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยเป็น " บ้านสันติ "

หมู่ที่ 5 บ้านป่าไร่ เดิมชื่อ บ้านป่าไร่

หมู่บ้านป่าไร่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 มีอายุประมาณ 128 ปี ครั้งแรกชาวบ้านได้มาตั้งถิ่นฐานล้วนอพยพมาจากจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ใหญ่ปกครองคนแรกไม่ปรากฏชัดเจนว่าเป็นใคร เดิมพื้นที่ในบริเวณหมู่บ้านเป็นต้นไผ่ไร่จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน คือ “ บ้านป่าไร่ ” จนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 6 บ้านโป่งพระบาท เดิมชื่อ บ้านโป่งพระบาท

ในสมัยโบราณความเจริญยังไม่เข้าถึงที่บริเวณบ้านโป่งแห่งนี้ มีสัตว์ป่าหรือวัวควายชอบมากินน้ำโป่งอยู่เสมอ บริเวณที่เป็นโป่งมีน้ำไหลออกมาเป็นตา ซึ่งมีความร้อน จึงเรียกว่า “ โป่งน้ำร้อน ” ห่างจากโป่งไปประมาณ 500 เมตร จะมีวัดป่าดอยพระบาทซึงมีรอยพระพุทธบาทจำลองปรากฏอยู่บนแผ่นหิน ชาวบ้านจึงมีมติว่าควรจะตั้งชื่อเป็น “ บ้านโป่งพระบาท ” จนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 7 บ้านโป่งน้ำตก เดิมชื่อ หมู่บ้านโป่งพระบาท

พระยาสุนทรบริรักษ์ ( เดิมชื่อ สุนทร ชัยเลิศ ) เป็นท่านแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในหมู่บ้านโป่งน้ำตก เมื่อประมาณ 100 ร้อยปีที่ผ่านมาโดยได้อพยพชาวบ้านสันกำแพงจากจังหวัดเชียงใหม่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ประตูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย แต่เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมจึงขาดแคลนที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน จึงต้องอพยพโยกย้ายมาด้วยขบวนช้างขบวนม้าและได้ตั้งถิ่นฐานในบ้านโป่งน้ำตกจนกระทั่งทุกวันนี้

หมู่ที่ 8 บ้านป่าอ้อ เดิมชื่อ หมู่บ้านป่าอ้อ

เดิมบ้านป่าอ้อมีต้นอ้อขึ้นเป็นจำนวนมาก ต้นอ้อมีลักษณะคล้ายตนไผ่ หน่อสามารถนำมาต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริกได้ มีรสชาติขมเล็กน้อย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ บ้านป่าอ้อ ” มาจนถึงปัจจุบันนี้ เดิมในสมัยราชการที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านโดยการเลือกจากชาวบ้าน โดยมี นายดวง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ราษฎรในหมู่บ้านมีความรักใคร่สนิทสนมกันฉันท์พี่น้อง จังได้พร้อมในกันตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้ใหญ่บ้านว่า “ ดวงสนิท ”

หมู่ที่ 9 บ้านป่าแฝก เดิมชื่อ บ้านป่าแฝก

เดิมทีก่อนจะมาเป็นหมู่บ้านป่าแฝก พื้นที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นป่าไม้น้อยใหญ่ มีลำน้ำห้วยหลายสายไหลผ่าน มีที่ราบเป็นเขาเตี้ย ๆ อยู่หลายลูก ตามสภาพที่ตั้งของหมู่บ้าน มีหญ้าคาและหญ้าแฝกที่ชาวบ้านได้นำมามุงหลังคาบ้าน จึงได้ชื่อว่า “ บ้านป่าแฝก ” ชาวบ้านที่ได้เข้ามาอาศัยก่อนหน้านั้นได้อพยพหนีความแห้งแล้งขาดแคลนอาหารและน้ำมาจากจังหวัดลำพูนซึ่งเป็นชาวลื้อได้เดินทางข้ามลำน้ำกกมาทางทิศเหนือเพื่อแสวงหาที่ทำกินผืนใหม่ ในที่สุดก็ได้เดินทางมาถึงบ้านป่าแฝกในปัจจุบันซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะทำเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 10 บ้านปางลาว เดิมชื่อ บ้านปางลาว

เดิมทีก่อนที่จะมาเป็นบ้านปางลาวนั้นได้มีพ่อค้าชาวลาวมาซื้อขายวัวควายได้มาพักค้างคืนและได้ตั้งแคมป์หรือ ( ป๋าง ) จากนั้นก็เลยเรียกกันว่าบ้าน ( ป๋างลาว ) สมัยก่อนเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กมีผู้ปกครองคือ หมื่นชาญอาสา พรหมใจสา เป็นผู้นำ

หมู่ที่ 11 บ้านต้นลุง เดิมชื่อ บ้านต้นลุง

ก่อนที่จะมาตั้งเป็นหมู่บ้านต้นลุงนั้น ได้มีต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อว่า “ ต้นลุง ” อยู่ 2 ต้น จึงได้ตั้งชื่อต้นลุงเป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 12 บ้านป่าสักไก่ เดิมชื่อ บ้านป่าสักไก่

บ้านป่าสักไก่เดิมนั้นเป็นบ้านดู่ หมู่ 3 ต่อมาใน พ.ศ. 2545 ได้แยกจากบ้านดู่ หมู่ 3 มาเป็นบ้านป่าสักไก่ มีผู้ใหญ่บ้านปกครองคนแรกคือ นายแสง แสนสุวรรณ เป็นผู้นำหมู่บ้าน

หมู่ที่ 13 บ้านหัวฝาย เดิมชื่อ บ้านฝายหลวง

คำว่า “ ฝายหลวง ” เดิมมีฝายกั้นน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร บ้านฝายหลวงเป็นต้นน้ำลำธารของตำบลบ้านดู่ จึงมีราษฎรหลายหมู่บ้านช่วยทำฝายขนาดใหญ่ จึงเป็นที่มาของบ้านฝายหลวง ต่อมาในปี 2527 ได้มีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้แยกหมู่บ้านออกมาจากหมู่ที่ 7 มาเป็นหมู่ที่ 13 โดยมีนายมงคล ใจขันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรก

หมู่ที่ 14 บ้านเหล่าพัฒนา เดิมชื่อ บ้านเหล่า

เดิมทีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน ได้นำมาขายแบ่งกันเป็นล๊อค เพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ ต่อมา ได้มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก หมู่บ้านในขณะนั้น จึงได้ขออนุญาตแบ่งหมู่บ้านเพื่อตั้งหมู่บ้านใหม่ ซึ่งแยกออกมาจาก บ้านขัวแคร่ หมู่ที่ 1 ตั้งเป็นหมู่บ้าน เหล่าพัฒนา หมู่ 14 และได้มีนายสมบูรณ์ กันทะเตียน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

หมู่ที่ 15 บ้านป่ากุ๊ก เดิมชื่อ บ้านป่ากุ๊ก

แรกเริ่มเดิมที มีนายสม แสนใจ พร้อมครอบครัวได้อพยพมาจากบ้านแม่ยาว มาก่อตั้งถิ่นฐานในที่แห่งนี้ โดยเป็นที่ทำมาหากิน จากนั้นได้มีผู้ที่อพยพมาร่วมอีกซึ่งมาจากเชียงใหม่ ร่วมกันตั้งถิ่นฐานจนกระทั่งมี ผู้คนเข้าอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากขึ้นเลื่อยๆ จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่า ยางป่ากุ๊ก โดยมีนายสม แสนใจ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกจากนั้นก็รวมกับบ้านป่าสักไก่ ตั้งเป็นหมู่ที่ 12 แล้วเปลี่ยนชื่อจากบ้านยางป่ากุ๊กเป็นบ้านป่ากุ๊ก จนกระทั่งพ.ศ. 2533 ได้แยกหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งซึ่งแยกมาจาบ้ายป่าสักไก่หมู่ 12 เป็นบ้านป่ากุ๊ก หมู่ที่ 15 จนถึงทุกวันนี้

หมู่ที่ 16 บ้านสันต้นก้อ เดิมชื่อ บ้านดู่

บ้านดู่แต่เดิม มีหมู่บ้าน อยู่ 4 หมู่บ้านคือ บ้านดู่ บ้านร่องบง บ้านสันปอแตง และบ้านร่องก้อเมื่อวันที่ ๑ 16 เมษายน พ.ศ. 2542 บ้านสันปอแตงและบ้านร่องก้อได้รวมกันจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ชื่อ ว่า บ้านสันต้นก้อ จนถึงทุกวันนี้

หมู่ที่ 17 บ้านขัวแคร่ เดิมชื่อ บ้านขัวแคร่

บ้านขัวแคร่หมู่ที่ 17 ได้แยกการปกครองออกจากบ้านขัวแคร่หมู่ที่ 1 เมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มาเป็นบ้านขัวแคร่ หมู่ที่ 17 ในปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 18 บ้านโป่งพระบาท เดิมชื่อ บ้านโป่งพระบาท

บ้านโป่งพระบาทหมู่ที่ 18 ได้แยกการปกครองจากบ้านโป่งพระบาท หมู่ที่ 18 เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 มาเป็นบ้านโป่งพระบาท หมู่ที่ 18 ในปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 19 บ้านหนองปึ๋งพัฒนา เดิมชื่อ บ้านหนองปึ๋ง

บ้านหนองปึ๋ง ได้รับการประกาศเป็นหมู่บ้านเมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2546 เดิมทีพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นหนองน้ำ มีต้นปึ๋งขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้าน หนองปึ๋ง มาตลอดจนทุกวันนี้

คำขวัญตำบลบ้านดู่

งามสะพรั่งน้ำตก.....................มรดกดอยพระบาท.................ธรรมชาติน้ำพุร้อน..............ที่พักผ่อนสวนสมเด็จ

เวบท้องถิ่นที่น่าสนใจ

1  เทศบาลตำบลบ้านดู่ 

2มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

3สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย

4มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ฝากข้อความ
คุณต้องลงทะเบียนก่อนส่งข้อความ.

ยังไม่มีข้อความส่งเข้ามา.
ผู้ดูแล มานิตย์ เตชะตน Tel. 085-7144384 E_mail hs5dzf@gmail.com โรงเรียนบ้านดู่(สหราษฎร์พัฒนาคาร) Tel.053-151544 Fax.053-151545 สพป.เชียงราย เขต1